Available courses

คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เห็นชอบเพิ่มบริการตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบี ด้วย HBsAg สำหรับประชากรทุกคนที่เกิดก่อน พ.ศ. 2535 จำนวน 1 ครั้งตลอดชีวิต พร้อมกับเห็นชอบเพิ่มบริการตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบซี ด้วย Anti-HCV สำหรับประชากรทุกคนที่เกิดก่อน พ.ศ. 2535 จำนวน 1 ครั้งตลอดชีวิต และตรวจทุกปี ๆ ละ ๑ ครั้ง สำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยง 5 กลุ่ม กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ออกระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยบุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบลกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด หรือสภากาชาดไทย มอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2566 มารองรับการดำเนินงานและมอบหมายให้กรมควบคุมโรค โดยความร่วมมือกับสภาเทคนิคการแพทย์ ร่วมกันจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการให้บริการคัดกรองโรคไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี เพื่อสนับสนุนให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานคัดกรองโรคไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี ในหน่วยบริการปฐมภูมิ อย่างมีคุณภาพและมาตรฐานในแนวทางเดียวกัน

 

วัตถุประสงค์ : เพื่อใช้เป็นหลักสูตรในการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครองค์กรภาคประชาสังคมที่ดำเนินงานด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในชุมชน ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ดีในการให้บริการ

กลุ่มเป้าหมาย : บุคลากรด้านสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่/อาสาสมัครองค์กรภาคประชาสังคมที่เป็นผู้ให้บริการด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในชุมชน


โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลและการป้องกัน ควบคุมการติดเชื้อสามารถป้องกันหรือทำให้ลดลงได้ หากมีระบบการเฝ้าระวังโรคที่ดีมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถและมีทักษะความชำนาญในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อ โดยเฉพาะหากมีมาตรฐานในการปฏิบัติเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อที่บุคลากรทุกระดับเข้าใจสามารถนำความรู้ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้นบุคลากรที่มีหน้าที่ในการเฝ้าระวังหรือรับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลของแต่ละโรงพยาบาลจะต้องผ่านการอบรมเพื่อให้มีความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะส่งผลให้ลดอุบัติการณ์ของการป่วยและการตายจากโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล และเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพลดลง ซึ่งจะช่วยป้องกัน และลดอัตราการป่วย การตายลงได้ ซึ่งการพัฒนาศักยภาพทางด้านวิชาการในครั้งนี้จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ในการถ่ายทอดวิชาการ

หลักสูตรพัฒนาศักยภาพทีมผู้ประเมินสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข (e-learning) จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพในการเป็นผู้ตรวจประเมินสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และเป็นการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงเนื้อหาหลักสูตรพัฒนาศักยภาพทีมผู้ประเมินสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข (e-learning) ให้แก่เจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานในทีมผู้ประเมินสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย
กายใจเป็นสุข



พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 คือกฎหมายใช้บังคับในการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลโดยผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เลขประจำตัวประชาชน ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ e-mail ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งจะชอบด้วยกฎหมายบ เมื่อทำตามหลักการหนึ่งหลักการใด เช่น ได้รับความยินยอม (Consent) จำเป็นเพื่อการปฏิบัติตามสัญญา (Contract) การปฏิบัติตามกฏหมาย (Legal Obligations)  ฯลฯ ดังนั้นกรมควบคุมโรคในฐานะของหน่วยงานของรัฐจะต้องทราบแนวทางการจัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง ตามแนวปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีผลบังคับใช้กับข้าราชการ พนักงาน ผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงบุคคลภายนอกผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้หน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข 

จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีการระบาดข้ามประเทศอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการเดินทางและการค้า ทำให้เจ้าหน้าที่ที่ช่องทางเข้าออกปประเทศ มีความสำคัญในการคัดกรองและสังเกตผู้เดินทางถึงความผิดปกติหรืออาการเจ็บป่วย กองด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ จึงได้พัฒนาหลักสูตรพื้นฐานการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพสำหรับเครือข่ายภายใน ช่องทางเข้าออกประเทศ (e-Learning for Non-Health staff) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่ช่องทางเข้าออกประเทศทุกหน่วยงานสามารถสังเกตความผิดปกติ และจัดการกับเหตุการณ์นั้นๆ ได้เบื้องต้น และ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หลักสูตรออนไลน์นี้จะทำให้เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่เครือข่ายผู้ปฏิบัติงานภายใน ช่องทางเข้าออกประเทศ (e-Learning for Non-Health staff) ได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคและ ภัยสุขภาพ และเสริมสร้างประสบการณ์จนเกิดความมั่นใจในการสื่อสารและจัดการกับความผิดปกติภายใน ช่องทางเข้าออกประเทศจนประสบความสำเร็จสูงสุด

องค์กรที่มีนำข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ไปใช้เพื่อกำหนดนโยบาย การตัดสินใจ การออกแบบกระบวนการทำงาน การวางแผนต่าง ๆ จะต้องมีความสามารถในการจัดการข้อมูลที่ดี มีความน่าเชื่อถือ และสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) ถูกกำหนดในพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ให้เป็นกลไกสำคัญในการกำหนดแนวทางในการควบคุมและการบริหารจัดการข้อมูล ดังนั้นกรมควบคุมโรค จึงจำเป็นต้องกำหนดให้มีธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐเพื่อเป็นหลักการและแนวทางในการดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการข้อมูล ให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย สร้างมูลค่า และเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานทั้งการเปิดเผยข้อมูล เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูล และสามารถสร้างประโยชน์จากข้อมูลในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจุบัน สถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ในระบบสาธารณสุข เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งในระดับโลก ดังนั้นการรักษาความปลอดภัยระบบสารสนเทศขององค์กร และแนวทางการประเมินความเสี่ยงจะต้องเป็นยุทธศาสตร์เฉพาะสำหรับแต่ละองค์กร เนื่องจากแต่ละองค์กร มีความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมองค์กร และระดับความเสี่ยง ดังนั้นจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กร

มาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของกรมควบคุมโรค รองรับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น พรบ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พรบ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์  พ.ศ. 2553 รวมถึง พรบ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 นอกจากนั้นยังต้องมีการระบุความเสี่ยง และมีแนวทางการป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้น วิธีการรับมือ และการกู้คืนข้อมูลหากมีการโจมตีด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อให้วงจรมีความสมบูรณ์ ครบถ้วน

ธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) และข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) เป็นส่วนที่สำคัญในการบริหารจัดการข้อมูล (Data Management) เป็นกลไกในการกำหนดทิศทาง ควบคุม และทวนสอบ การบริหารบริหารจัดการข้อมูล เพื่อให้กรมควบคุมโรคได้ดำเนินการบริหารจัดการข้อมูลเป็นไปตามนโยบาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่ได้กำหนดไว้ ทั้งนี้หากกรมควบคุมโรคมีธรรมาภิบาลข้อมูลที่ดี จะก่อให้เกิดการบริหารจัดการข้อมูลที่ดี ส่งผลให้ข้อมูลมีความมั่นคงปลอดภัย มีคุณภาพ สามารถเปิดเผย เชื่อมโยง และแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ สร้างความคุ้มค่าต่อการดำเนินงาน เศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้


บทเรียนสำหรับผู้ปฏิบัติงานโรคเรื้อนผ่านระบบ Online เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับโรคเรื้อน และมีความรู้ในการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคเรื้อน เนื้อหาประกอบด้วย 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคเรื้อน 2. การค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ในชุมชนและการส่งต่อ 3. การป้องกันความพิการในผู้ป่วยโรคเรื้อน และการสอนดูแล ตา มือ เท้าในผู้ป่วยโรคเรื้อน 4. การจัดทำแบบบันทึก ระเบียนรายงาน


การพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ (R2R: Routine to Research) เป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาบริการควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กร โดยการสังเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากงานประจำที่ปฏิบัติ มาพัฒนาต่อยอดเป็นงานวิจัย เพื่อนำผลที่ได้มาปรับปรุงและพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาจกล่าวได้ว่า R2R เป็นการผสมผสานระหว่างการพัฒนาคุณภาพการทำงานและการวิจัย ที่เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ รวมทั้งเป็นการนำผลงานวิจัยมาปรับปรุงการทำงานด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ของกรมควบคุมโรค กำหนดในยุทธศาสตร์ที่ 3 การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของระบบป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ โดยมีมาตรการที่สำคัญ คือ การปฏิรูประบบวิจัยและการพัฒนานวัตกรรม เพื่อการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค และภัยสุขภาพ โดยสนับสนุนให้มีศักยภาพในการทำงานวิจัยสามารถทำงานได้อย่างสม่ำเสมอ และจัดระบบการพัฒนานักวิจัยหน้าใหม่ และระบบสนับสนุนให้มีนักวิจัยเข้ามาสู่ระบบ รวมถึงร่วมดำเนินงานวิจัยการควบคุมโรคและภัยสุขภาพเพิ่มมากขึ้น


หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในระดับพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในแต่ละระดับในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้สามารถจัดทำระบบข้อมูลเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์สถานการณ์ กำหนดประเด็นปัญหา และ การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา เพื่อการตัดสินใจในการวางแผนกำหนดเป้าหมายการทำงานและการสร้างความเข้าใจร่วมกันในการเชื่อมโยงภารกิจของแต่ละหน่วยงาน เพื่อบูรณาการทรัพยากรจากภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน รวมทั้งติดตามประเมินผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างเป็นระบบ ตามหลักการ SPOME (Situation analysis Problem identification Outcome setting Methodology and Evaluation) โดยมุ่งหวังให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

กรมควบคุมโรค มีกระบวนการประเมินและรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ฯ เพื่อให้หน่วยงานในสังกัดกรมควบคุมโรคใช้เป็นแนวทางในการจัดทำพัฒนาผลิตภัณฑ์หลัก (คู่มือ แนวทาง หลักสูตร มาตรฐานและมาตรการ) ให้มีคุณภาพ ได้รับการยอมรับ และเป็นไปตามมาตรฐานสากล อย่างไรก็ตาม การจัดทำผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ควรมีการทดสอบประสิทธิภาพก่อนการเผยแพร่ เพื่อให้ทราบว่า ผลิตภัณฑ์หลักที่จัดทำขึ้นมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ในการดำเนินงานได้จริง ตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เนื้อหาในหลักสูตร ประกอบด้วย 4 ตอน ดังนี้ (1) ความรู้เบื้องต้นฯ (2) การสร้างเครื่องมือฯ (3) รูปแบบการทดสอบประสิทธิภาพฯ และ (4) การคำนวณประสิทธิภาพฯ

สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ “การใช้ชุดตรวจคัดกรองหาการติดเชื้อเอชไอวีด้วยตนเอง (HIV self screening testing)”ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ e-Learning เป็นการส่งเสริมการเข้าถึงความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ชุดตรวจคัดกรองหาการติดเชื้อเอชไอวีด้วยตนเอง ให้กับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขและบุคคลทั่วไปที่สนใจ ได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ อันจะก่อให้เกิดแนวทางและหลักปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันเพื่อนำไปสู่มาตรฐานในการตรวจคัดกรองและการเข้าสู่ระบบการรักษาที่รวดเร็วต่อไปในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนและนำไปสู่การการเสียชีวิตต่อไปในอนาคต

หลักสูตรพัฒนาศักยภาพหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม (e-learning) จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านการสอบสวนโรค การเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมตามที่กฎหมายกำหนด และเป็นการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงเนื้อหาหลักสูตรฯ ให้แก่เจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานในหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมของจังหวัดและกรุงเทพมหานคร

 ขอสงวนสิทธิ์เข้าชมเนื้อหาสำหรับผู้ที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการอบรมการใช้งานโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ ArcGIS ที่จัดอบรมเมื่อวันที่ 26 เม.ย. - 20 พ.ค. 65  เท่านั้น หากมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

หลักสูตรที่ 2 ความรู้ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติฯ (หลักสูตรของปีงบฯ 2564)

การเรียนรู้ครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้บุคลากรของกรมควบคุมโรคทุกระดับมีความรู้ ความเข้าใจแผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ อันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19 พ.ศ.2564-2565 แผนปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข และแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ระยะ20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ตลอดจนแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้บรรลุเป้าหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรกรมควบคุมโรค สามารถประยุกต์แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันควบคุมโรคฯ ไปสู่การปฏิบัติในระดับแผนงานโครงการของหน่วยงานได้ 

หลักสูตรที่ 1 หลักสูตรความรู้พื้นฐานยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี ด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ พ.ศ.2561 - 2580 (หลักสูตรของปีงบฯ 2563)

E-Learning การให้บริการเลิกบุหรี สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ สถานประกอบการและผู้ที่สนใจสนับสนุนให้เกิดการเลิกบุหรี่ โดยมีองค์ประกอบของเนื้อหาในประเด็นที่สำคัญ อาทิ รูปแบบการให้บริการเลิกบุหรี่แบบครบวงจร Basic principle of nicotine dependence treatment  การประเมินภาวการณ์เสพติด และการวางแผนการรักษา การบำบัดรักษา  เทคนิค Counselling รวมไปถึงการบำบัด ส่งต่อและการติดตาม เป็นต้น

การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ PMQA 4.0 สำหรับบุคลากรภายในกรมควบคุมโรคแบบออนไลน์ (E – Learning) จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ แนวทางการพัฒนาองค์การตามหลักเกณฑ์ และสามารถนำไปพัฒนาการทำงานในหน่วยงานของตนได้ โดยมีองค์ประกอบของเนื้อหาในประเด็นที่สำคัญ อาทิ แนวคิดพื้นฐาน PMQA 4.0 ลักษณะสำคัญขององค์การ หมวดที่ 1 การนำองค์กร หมวดที่ 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ หมวดที่ 3 การมุ่งเน้นผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวดที่ 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ หมวดที่ 5 การมุ่งเน้นบุคลากร หมวดที่ 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และหมวดที่ 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ ซึ่งมีการกำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์ในแต่ละข้อ เป็นต้น รวมทั้งมีการประเมินก่อนเรียน (Pretest) และหลังเรียน (Posttest) โดยมีการจัดลำดับเนื้อหาการอบรม ผู้อบรมสามารถเข้ามาศึกษาข้อมูลเนื้อหาการอบรมด้วยตนเองได้ตลอดเวลา


เนื้อหาเรื่องการจัดทำรายละเอียดตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการ (KPI Template) และกระบวนการตรวจติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการหน่วยงานกรมควบคุมโรค เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองที่ช่วยในการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เป็นผู้กำกับตัวชี้วัดตามคำรับรองฯ และบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านพัฒนาองค์กรให้มีพื้นฐานองค์ความรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักวิชาการในการปฏิบัติงานด้านการจัดทำรายละเอียดตัวชี้วัดคำรับรอง (KPI Template) และการกำกับ ติดตาม และประเมินผลคำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงาน โดยมีการจัดลำดับเนื้อหาการอบรม ผู้อบรมสามารถเข้ามาศึกษาข้อมูลเนื้อหาการอบรมด้วยตนเองได้ตลอดเวลา

กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการเร่งรัดการกำจัดโรคไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และมะเร็งตับ โดยมุ่งหวังให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2573 มาตรการที่สำคัญ คือ เพิ่มการตรวจคัดกรองโรคไวรัสตับอักเสบบี และ ซี และสนับสนุนให้ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี สามารถเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพ กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จึงได้จัดทำรายวิชา“การดูแลรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี” เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขให้ได้รับองค์ความรู้ที่เป็นปัจจุบันเกี่ยวกับการดูแลรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี  และมุ่งเน้นพัฒนาแพทย์ทั่วไปให้มีคุณสมบัติในการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง ตามแนวทางกำกับการใช้ยา Sofosbuvir + Velpatasvir ในบัญชียา จ(2) เพื่อให้ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง ที่ไม่มีภาวะตับแข็งหรือมะเร็งตับ ได้รับการรักษาเร็วที่สุดเมื่อทราบผลการวินิจฉัย เป็นการเพิ่มโอกาสเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้นอย่างครอบคลุมเท่าเทียม


HIV & STIs Pro E-Learning หรือการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่องเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จัดทำขึ้นเพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขที่รับผิดชอบงานโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือผู้ที่สนใจ มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและกระบวนการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสามารถวางแผนการดำเนินงานกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ และจัดกิจกรรมฝึกทักษะเพื่อสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่องเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยบทเรียนนี้มีทั้งเนื้อหา และสื่อประกอบการเรียนรู้ ในรูปแบบรูปภาพ วิดีโอมัลติมีเดีย และไฟล์ข้อมูล PDF ให้ศึกษาเพิ่มเติม ซึ่งผู้เรียนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ทุกที่ ผ่านคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน ที่มีการเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ต

อธิบายความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ การจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ระบบบัญชาการเหตุการณ์และศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข

หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสารสนเทศ เพื่อเสริมสร้างทักษะองค์ความรู้และการจัดการข้อมูลโรคไม่ติดต่อ ประกอบไปด้วย
ส่วนที่ 1 “การเสริมสร้างทักษะองค์ความรู้โรคไม่ติดต่อ และโครงสร้างระบบการจัดการสถานบริการสุขภาพ”
ส่วนที่ 2 “การจัดการข้อมูลโรคไม่ติดต่อ”

วัตถุประประสงค์ของหลักสูตร คือ เจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศที่เข้ามาปฏิบัติงานใหม่หรือรับโอนย้ายมาทำงานที่ด่านฯ รวมถึงเจ้าหน้าที่หน่วยงานเครือข่ายช่องทางเข้าออกประเทศที่มีการหมุนเวียนการปฏิบัติงาน ได้รับการพัฒนาศักยภาพในการตรวจจับ เฝ้าระวัง สื่อสารข้อมูล และป้องกันควบคุมโรคให้ผู้เดินทางและเจ้าหน้าที่ด้วยกัน ทั้งในภาวะปกติและรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เนื้อหาในหลักสูตร ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปของด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ การแต่งกายของเจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศในการปฏิบัติหน้าที่ การดำเนินงานพัฒนาสมรรถนะได้
ตามข้อกำหนดของกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ.
2548 ความรู้เรื่องโรคที่มีความสำคัญ  การสังเกตอาการป่วย และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในผู้เดินทาง และความรู้ในการเตรียมความพร้อมเมื่อพบเหตุการณ์ผิดปกติทางด้านสาธารณสุขเบื้องต้น

เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านทรัพยากรบุคคล ให้มีความรู้ ความสามารถ และสามารถปฏิบัติงานด้านทรัพยากรบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริตในการปฏิบัติราชการ จัดทำขึ้นเพื่อเสริมสร้างให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องความเสี่ยงในการทุจริต และมีทักษะในการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนการปฏิบัติงาน รวมถึงการนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริต เป็นการจัดการเชิงรุกที่ครอบคลุมทั้งด้านป้องกันและตรวจจับการทุจริต อีกทั้งเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) โดยกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย บุคลากรที่รับผิดชอบงานด้านจัดซื้อจัดจ้าง งานการเงินและงบประมาณ งานตรวจสอบภายใน งานแผนและยุทธศาสตร์ (โครงการที่มีงบประมาณสูง) และงานด้านคุณธรรมจริยธรรมและความโปร่งใส


เนื้อหาการสอนมีการพัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขเฉพาะเรื่องนั้นๆ จากภาครัฐและภาคประชาสังคม ในรายวิชาประกอบด้วยทฤษฎีและสื่อการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานด้านเอชไอวี/เอดส์ ซึ่งเน้นกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสอง นอกจากจะได้ความรู้ผู้เรียนจะได้รับใบประกาศนียบัตรออนไลน์ ที่รับรองโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นการรับรองคุณภาพรายบุคคลที่ผ่านเกณฑ์ทดสอบความรู้พื้นฐานด้านเอชไอวี/เอดส์ ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการทำงาน เผยแพร่ความรู้เพื่อการป้องกันการติดเชื้อ การส่งต่อเพื่อเข้ารับบริการในโรงพยาบาลหรือคลินิก รวมถึงช่วยเหลือติดตามให้กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อและถ่ายทอดเชื้อ